วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การเลือกแหล่งสารสนเทศ

แหล่งสารสนเทศ สถานที่ที่ผู้เรียนสามารถแสวงหาสารสนเทศได้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ รวมถึงสื่อต่างๆ บุคคลล สถานที่ และสื่อมวลชน จำแนกตามลักษณะการเข้าถึงและใช้สารสนเทศ ได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่




1. แหล่งสารสนเทศบุคคล เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีอยู่ในตัวบุคคลที่เป็นผู้รู้สารสนเทศ มีลักษณะเป็นข้อมูลเฉพาะเรื่อง ที่เกิดจากการประมวลความคิด ความรู้ ความจำและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เช่น ตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน










ตัวบุคคล >>>>>>>















ครอบครัว (แหล่งสารสนเทศเป็นบุคคล)






แหล่งสารสนเทศบุคคล (เพื่อนร่วมงาน)













ปราชญ์ชาวบ้าน

วิธีการได้สารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศบุคคล ต้องทราบว่าบุคคลใดมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ตนสนใจ อาจใช้วิธีการสอบถาม สัมภาษณ์ พูดคุย ตัวอย่างแหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล เช่น ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ คีตศิลป์






2. แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน เป็นแหล่งสารสนเทศที่มุ่งเผยแพร่สารสนเทศ ข่าวสาร เหตุการณ์ต่อประชาชน โดยเน้นข่าวสารเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ๆ รวมทั้งสาระความรู้ในเรื่องต่างๆที่เป็นประโยชน์ โดยวิธีการแพร่กระจายเสียง ภาพ และตัวอักษร ผ่านสื่อประเภทต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์






3. แหล่งสารสนเทศสถาบัน เป็นแหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งอยู่ในองค์กรต่างๆ อาจเป็นหน่วยงานรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ เอกชน สมาคม หรือองค์การระหว่างประเทศ โดยทำหน้าที่ให้บริการสารสนแก่ผู้ใช้สารสนเทศในองค์กร เช่น ห้องสมุดประเภทต่างๆ
หอจดหมายเหตุ
แหล่งสารสนเทศสถาบันเหล่านี้ จัดเป็นแหล่งสารสนเทศที่เป็นทางการ นอกจากนี้ แหล่งการเรียนรู้อื่นๆ อีกที่สำคัญและควรทราบ
- ศูนย์ข้อมูล เป็นหน่วยงานที่ผลิต หรือรวบรวมข้อมูลตัวเลข ข้อมูลดิบหรือผลที่ดำเนินการไปแล้วบางส่วน และมักเป็นเรื่องราวในวงกว้าง เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้ศึกษาข้อมูลอย่างมีระบบ นอกจากนี้ยังรวมถึงคลังข้อมูล ซึ่งเก็บรวบรวม ประเมินผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ แล้วให้บริการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล เช่น ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย สำนักงานพลังงานแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลข่าวสารการตลาดของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทยเป็นต้น
- หอจดหมายเหตุ แหล่งจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ ซึ่งเป็นเอกสารปฐมภูมิเพื่อใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นหลักฐานสำหรับค้นคว้าในเชิงประวัติศาสตร์ มรดกทางวัฒนธรรม





- สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ สถาบันที่ดำเนินธุรกิจการค้าสารสนเทศในรูปของบริษัทค้าสารสนเทศ ผู้ผลิตและจำหน่ายฐานข้อมูล ในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดำเนินธุรกิจการให้บริการสารสนเทศในลักษณะนี้ คือ ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี หรือ ทีแอ็ค (TIAC) เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานโดยภาครัฐ ทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษาวิจัย การค้นคว้าทางวิทยาการ ให้บริการสืบค้นสารสนเทศ โดยคิดค่าใช้จ่ายในราคาถูก

- พิพิธภัณฑ์ เป็นสถาบันถาวร ที่ไม่จัดหาผลประโยชน์ ให้บริการแก่สังคมและการพัฒนาสังคม ทำหน้าที่รวบรวม สงวนรักษา ค้นคว้า วิจัยเผยแพร่ความรู้ และจัดแสดง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการค้นคว้า ให้การศึกษาและความเพลิดเพลินจากวัตถุที่รวบรวมไว้เป็นหลักฐานในเรื่องมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- ศูนย์วัฒนธรรม เป็นศูนย์กลางการศึกษาและค้นคว้าวิจัยทางด้านความรู้ศิลปะ พื้นบ้าน รวมทั้งทำนุบำรุง ส่งเสริม เผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชีวิตและท้องถิ่น





















- อุทยานการศึกษา เป็นแหล่งการศึกษาต่อเนื่องสำหรับประชาชนทุกเพศทุกวัย ซึ่งสามารถแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ตามความสนใจ ความถนัด และความต้องการที่เป็นรูปธรรม สร้างมโนทัศน์ได้อย่างถูกต้อง นอกเหนือจากการเรียนในตำรา หรือ ในชั้นเรียน ตัวอย่างเช่น อุทยานแห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อุทยานประวัติศาสตร์




- สวนสาธารณะ เป็นสถานที่จัดแสดงสิ่งมีชีวิต เช่น สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ สวนสมุนไพร สถานที่เหล่านี้ให้ความบันเทิง พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งที่รวบรวมวิชาความรู้ รวมทั้งเป็นสถานที่สำหรับการศึกษานอกสถานที่


- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้และสร้างสรรค์สำหรับเด็กเยาวชน และประชาชนในจังหวัดหรือภูมิภาคนั่นๆ เป็นการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยกร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลอง

4. อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ แหล่งความรู้บนอินเทอร์เน็ต ปรากฎอยู่ในรูปของเว็บไซต์ รวบรวมความรู้ในทุกเรื่องทุกสาขาวิชา จุดเด้นของแหล่งสารสนเทศประเภทนี้ คือ สามารถเข้าถึงและใช้งานง่าย มีสีสันสวยงาม และมีการเชื่อมต่อ ข้อมูลหลากหลายประเภท ช่วยให้การติดตามความรู้นั่น น่าสนใจมากขึ้น
อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งแหล่งสารสนเทศและเครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ ที่เป็นที่รู้จักและใช้อย่างแพร่หลาย เช่น google yahoo เป็นต้น อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญที่มีการนำมาใช้เพื่อการเรียนการสอน การค้นคว้าหาความรู้ การอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์เป็นจำนวนมาก

6 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ4 สิงหาคม 2552 เวลา 21:32

    1. มิติด้านเวลา = สารสนเทศที่ดีควรมีการเตรียมไว้ให้ทันเวลาทันกับความต้องการขอลผู้ใช้ มีความทันสมัย และควรเป็นสารสนเทศที่มีวิวัฒนาการและเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงเวลาตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

    จัดทำโดย
    ปวส.1 ติดตั้งไฟฟ้า

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ4 สิงหาคม 2552 เวลา 21:36

    2.มิติด้านเนื้อหา = สารสนเทศที่ดีควรมีความถูกต้องสมบูรณ์ น่าเชื่อถือ ปราศจากข้อผิดพลาด ตรงกับความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศ สิ่งที่จำเป็นที่จะต้องมีในเนื้อหาของสารสนเทศคือ ความครอบคลุมเฉพาะที่จำเป็นทั้งด้านกว้างและด้านแคบ หรือมีจุดเน้นทั้งภายในและภายนอก

    จัดทำโดย
    ปวส.1 ติดตั้งไฟฟ้า

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ4 สิงหาคม 2552 เวลา 21:40

    3.มิติด้านรูปแบบ = มีความชัดเจน กะทัดรัด ง่ายต่อการทำความเข้าใจ มีทั้งแบบรายละเอียด และแบบสรุปย่อ มีการเรียบเรียงตามลำดับ และมีการนำเสนอที่หลากหลาย เช่น พรรณนา บรรยาย ตัวเลข กราฟิก และอื่นๆ

    จัดทำโดย
    ปวส.1 ติดตั้งไฟฟ้า

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ4 สิงหาคม 2552 เวลา 21:48

    4.มิติด้านกระบวนการ = สารสนเทศที่ดีควรมีความปลอดภัยและสามารถเข้าถึงได้

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ30 มกราคม 2554 เวลา 06:15

    ปี นี้ พลาด คน พัน อา


    อิอิ อาจาร สบาย ดีไหม ฝาก ความ คิดถึง อา จาร คมกริต กัล น่า อา จาร คน สวย แล้วอีก อย่าง พวก ฟร้อ น เป ง ไง มั้ง เหง ว่า เกรต ไม่ ถึง อื่อ ฝากบอก พวก มันกัล น่า อา จาร เรียน ยังไง เกรตไม่ถึง เรียนดีๆ ละ บ่าย ครับ อา จาร ไปทำงาน ก่อน ล่า ดิสโก้ บรรเล้

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ30 มกราคม 2554 เวลา 06:17

    อื้ม เลี้ยง รุ้น วันไหน อะ ครับ กะ ว่า จะลงไป เที่ยวๆ ดุ มั้ง เปง ไง ปี นี้



    ทำ สา หร่าย ทะเล ทอด ซิ ครับ อา จาร อร่อย สุดๆ นะ จะ บอกไห้

    ตอบลบ

เพลงฮิต


~ ~ w e l c o m e to R's L i f e ~ )) ))