วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความรู้เรื่องเอ็นทรานซ์



ด้วยความเป็นคนรุ่นเกือบเก่า เอ็นทรานซ์ แบบเรากับเด็กนักเรียนสมัยนี้คงต่างกันเยอะ

แต่ก้อมี นักเรียนนักศึกษา หรือ แม้แต่ ครู อาจารย์ เองมาถาม บ่อย ๆ เกี่ยวกับ
เรื่อง การสอบ แอดมิสชั่นส์ หรือ เอ็นทรานซ์ (สะท้านไปเลย) อยู่บ่อยๆ


ส่วนตัวก้อไม่สามารถให้ความรู้ใดๆ ได้ เพราะ ผ่านชีวิตของการสอบเอ็นฯ ไปนานแล้วว

ก้อยังเก็บความสงสัย ไว้ หา คำตอบหรือ ความกระจ่าง จริงๆ จัง สักครั้ง


ด้วยบังเอิญ ที่ ได้อ่าน บทความของคุณ สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร เจ้าของ คอลัมน์ ร่มรื่นในเงาคิด มติชนสุดสัปดาห์ ซึ่งมีเรื่อง เอ็นท์ สะท้าน ตรงกับที่เราสงสัยอยู่ พอดี ก้อเลยเอามาให้ดูกัน คงได้ประโยชน์ ไม่มากก้อน้อยบ้างหร่ะ

ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกาในสถาบันอุดมศึกษา หรือ ระบบเอ็นทรานซ์ เริ่มมีมาตั้งแต่ ปี 2504

เนื่องจากมหาวิทยาลัย มีจำนวนที่นั่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน มหาวิทยาลัยของรัฐ เห็นว่า การสอบแข่งขัน เพื่อคัดเลือก ผู้ที่มีคะแนนสูงให้เข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษา จึงน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด


ระยะที่ 1 ระหว่างปี 2504-2525 สอบปีละ 1 ครั้ง โดยเป็นข้อสอบกลาง จัดสอบโดยทบวงมหาวิทยาลัย โดยแยกเป็น สายวิทยาศาสตร์ (สอบภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์) สายศิลป์ศาสตร์ (สอบภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์)


ระยะที่ 2 ระหว่างปี 2526-2542 มีการปรับปรุงเพื่ออุดช่องว่าง ที่มีการโจมตีว่า ไม่ให้ความสนใจกับภาษาไทย สังคมศาสตร์ โดยเฉพาะนักเรียนสายวิทย์ พากันทิ้งภาษาไทย เนื่องจากไม่ได้ใช้สอบ ดังนั้น จึงเพิ่มวิชาภาษาไทย และสังคมเข้าไป รวมถึงให้สายวิทย์ และสายศิลป์สอบในวิชาสามัญที่เรียนในระดับมัธยมด้วย


โดยแยกเป็น สายวิทย์ สอบสามัญ 1 (ภาษาไทย สังคม คณิตศาสตร ก.ข. เคมี ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษ ก.ข. ชีววิทยา )

สายศิลป์ สอบสามัญ 2 (ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ชีวภาพ สังคม ก.ข. ภาษาไทยก.ข. ภาษาอังกฤษ ก.ข.ค. และคณิตศาสตร์ 2)




ระยะที่ 3 2543-2548 เรียกระบบเอ็นทรานซ์แบบใหม่ โดยให้นำผลการเฉลี่ยสะสมในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาใช้ร่วมกับการสอบวัดความรู้ด้วยในอัตรา 10 : 90 % และเปิดสอบปีละ 2 ครั้ง



ระยะที่ 4 ปี 2549-2552 เพิ่มหลักการของการนำผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมาใช้ในการคัดเลือกในสัดส่วนที่มากขึ้น และเพิ่มการพิจารณาความรู้ของผู้สมัครประกอบ


GPAX - ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษา หรือ เทียบเท่า


GPA - ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายตามกลุ่มสาระการเรียนรู้


O-NET - ผลการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน

A-NET - ผลการทดสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง


แต่กระนั้น การวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม หรือยังไม่ลงตัว ก็มีอยู่สูง ทำให้ ในปี 2553 ซึ่งถือเป็นระยะที่ 5 จะใช้ รูปแบบใหม่อีก


คือนอกจากจะใช้ GPAX O-NET แล้ว จะเพิ่มเข้ามา คือ


GAT - การทดสอบวัดความถนัดทั่วไปของผู้สอบ เพื่อดูศักยภาพในการเรียน(ความสามารถในการอ่าน เขียน คิด วิเคราะห์ แก้โจทย์ปัญหา ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ) ให้น้ำหนัก 10-50 %


PAT - การทดสอบวัดความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพของผู้สอบ (เป็นความรู้พื้นฐานที่ใช้เรียนต่อในวิชาชีพนั้นๆ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้นให้ประสบผลสำเร็จ)

รูปแบบใหม่ที่จะใช้ในปีหน้านี้ คาดหมายว่าจะทำให้ได้นักศึกษาที่ชอบหรือถนัดในคณะหรือสาขาวิชาที่เลือกมากขึ้น



อ่านถึง ตรงนี้ คงทำให้เรารู้เรื่องการสอบ เอ็นทรานซ์ หรือ ปัจจุบันเรียกว่าการสอบแอดมิสชั่นส์ ได้บ้าง ก็ให้กำลังใจน้องๆ นักเรียน ทุกๆคน ให้ได้เรียนในคณะ หรือ สาขาที่ชอบและอยากจะเรียนกัน








เครดิต >>>>> สุวพงส์ จั่นฝังเพ็ชร. เอ็นท์ สะท้าน . มติชนสุดสัปดาห์ . ปีที่ 29 ฉบับที่ 1521. หน้า80








1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลคะ

    พอหาข้อสอบปีเก่าๆมาทำ (เค้าเรียก อังกฤษ กขค) สงสัยอยู่ ว่าทำไมมันยากกว่าปีหลัง ที่แท้ ก็เป็นของสายศิลป์ --.--

    ปล.ระบบใหม่นี่ปวดหัวจริงๆ

    ตอบลบ

เพลงฮิต


~ ~ w e l c o m e to R's L i f e ~ )) ))