วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อบรมระบบบริหารการจัดการ

วันที่ 2-3 พฤศจิกายน 25552



ณ ศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยการอาชีพ





ระบบการบริหารการจัดการ (RMS) วิทยากร อ.น้ำมนต์ โฆสะโก หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคสตูล



ระบบบริหารจัดการงานอาชีวศึกษา(RMS2007 : Rcheewa Management System)One Account Our Success กระบวนการพัฒนาสารสนเทศของวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ

อยู่ภายใต้แนวคิดการพัฒนาสารสนเทศเพื่อการบริหารบนความสำเร็จที่ยั่งยืนขององค์กร โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีจุดเน้นเรื่องการพัฒนาสารสนเทศดังนี้



• ด้านการบริหาร เน้นเพิ่มประสิทธิภาพงานผ่านเทคโนโลยีต่างๆ เช่น paperless VDOconference

• ด้านบริการ แก่นักศึกษา ผู้ปกครองผ่านเทคโนโลยีเว็บเช่นการตรวจสอบผลการเรียน และความประพฤติผ่านระบบ RSMS เป็นต้น กับชุนชนเช่นการจัดทำ V-Cop Board ผ่าน V-Cop.net ระบบความร่วมมือ เป็นต้น

• ด้านวิชาการ เช่น การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ ทั้ง e-book, powerpoint ประกอบการสอน, e-learning ฯลฯ

• ด้านพัฒนาบุคลากร ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อเป็นฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ในอนาคตโดยการพัฒนาสารสนเทศยึดแนวทางตาม SDLC:System Development Life Cycle ดังนี้



1. การศึกษาสถานภาพของระบบงานเดิม และความเป็นไปได้ของโครงการ ศึกษาจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร โดยคำนึงถึงผลตอบแทนการลงทุน(ROI)และจุดคุ้มทุนของระบบ



2. วิเคราะห์ระบบงานเดิม เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูลเข้าและข้อมูลออก รวมถึงขั้นตอนการตัดสินใจในการปฏิบัติงานนั้น สามารถวิเคราะห์จากสภาพการทำงานจริง เอกสารที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการถึงรายละเอียดตามสายงาน นำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการวิเคราะห์แนวทางแก้ไข และวิเคราะห์ประเด็นในการนำเสนอสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร



3. การออกแบบระบบงานใหม่ โดยการออกแบบการไหลของข้อมูลในระบบงานใหม่ การออกแบบการประมวลผลในระบบ (Process Designing การออกแบบส่วนการนำเข้าข้อมูล (Input Design) การออกแบบฐานข้อมูล (Database Design) และทำการออกแบบส่วนการแสดงผลสารสนเทศ (Output Design) ภายใต้กรอบความคิดที่ว่า "ข้อมูลถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรก ขณะที่ระบบไอทีและกระบวนการต่างๆ ควรได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับทรัพยากรด้านข้อมูล (information asset) ในแง่ของการจัดหาช่องทางเข้าถึงบริการ ความพร้อมในการให้บริการ และมาตรการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม"(คาร์ล เวอร์เฮ้าสท์, CA : 20 November 2006 )



4. การเขียนโปรแกรม (Coding) และทดลองใช้ โดยเน้นการพัฒนา Application ภายใต้เทคโนโลยี Open Source เช่น Linux Platform, PHP, Mysql



5. ทดสอบระบบ เพื่อตรวจสอบหาข้อผิดพลาดและปรับปรุงแก้ไขของ Software ที่พัฒนาขึ้นให้ตรงตามการใช้งาน



6. ติดตั้งและบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการงานอาชีวศึกษาภายในสถานศึกษา



เบื้องต้นมีระบบทีเกี่ยวข้องทั้งสิ้น 3 ระบบได้แก่ ระบบบริหารจัดการบุคลากร ระบบบริหารจัดการนักเรียนนักศึกษา และระบบงานสารบรรณ ซึ่งทั้ง 3 ระบบมีความเชื่อมโยงกันดังรายละเอียดต่อไปนี้



ระบบบริหารจัดการบุคลากร (RPMS2007)ความสามารถของระบบ

• สามารถจัดเก็บประวัติบุคลากรในสถานศึกษา และตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบในวิทยาลัย เพื่อกำหนดสิทธิการเข้าใช้งานโปรแกรมต่างๆ ในระบบบริหารจัดการงานอาชีวศึกษา (RMS2007)โดยไม่ต้องออกจากโปรแกรม RPMS2007 ซึ่งชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านเดียวกันสามารถเข้าสู่โปรแกรมอื่นใน RMS2007 ได้ภายใต้ One Account Our Success โดยในเบื้องต้นได้แก่ระบบงานสารบัญอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบริหารจัดการนักเรียนนักศึกษา

• โดยที่ระบบนี้จะเป็นสื่อกลางในการแจ้งข่าวสารจากงานบุคลากรถึงบุคลากรทุกท่านที่อยู่ในระบบ รวมถึงระบบแจ้งเตือนPrivate Message จากโปรแกรมอื่นใน RMS2007 ซึ่งระบบรับส่งข้อความ Private Messageสามารถแนบไฟล์เอกสารส่งถึงบุคลากรที่มีอยู่ในระบบ และสามารถทราบถึงสถานะของ Messageที่ส่งว่าถึงผู้รับ และผู้รับได้เปิดอ่านหรือยัง

• สามารถส่งออกข้อมูลบุคลากรในสถานศึกษา นำข้อมูลส่งให้สำนักนโยบายและแผนฯ กลุ่มงบประมาณและติดตามผล เพื่อใช้ในการคำนวณประกอบการจัดสรรงบประมาณต่อหัวในส่วนของบุคลากรได้ระบบ



บริหารจัดการนักเรียน นักศึกษา (RSMS2007)ความสามารถของระบบ

• เป็นระบบที่สถานศึกษาสามารถนำเข้าข้อมูลตั้งต้นจากระบบโปรแกรมบริหารจัดการนักเรียนนักศึกษา (ศธ.02) ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลใหม่จำนวน 60 รายการอาทิข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษา ผู้ปกครอง ผลการเรียนในแต่ละภาคเรียนเป็นต้น

• รองรับการทำงานผ่านระบบเครือข่ายทั้ง Intranet และ Internet สะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลด้วยสิทธิที่แตกต่างกัน

• เพิ่มประสิทธิภาพช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนนักศึกษา เช่นผู้ปกครองสามารถตรวจสอบผลการเรียน และแจ้งเหตุเกี่ยวกับข้อมูลนักศึกษาในความปกครอง โดยข้อมูลนี้เป็นความลับระหว่างผู้ปกครองกับอาจารย์ที่ปรึกษา

• มีระบบประมวลผลการดำเนินงานของงานพัฒนาวินัยต่อฝ่ายบริหาร เช่นจำนวนนักศึกษาที่ถูกลงโทษจำแนกตามความผิด จำแนกตามแผนกวิชาและจำแนกตามระดับชั้น

• โดยระบบจะช่วยคณะครูในการจัดทำฐานข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาในที่ปรึกษาดังรายละเอียดต่อไปนี้- ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว และประเภทที่อยู่อาศัย - ข้อมูลบุคคลที่นักเรียน นักศึกษาปรึกษาปัญหาต่างๆ - ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนและผลงานดีเด่น (คนดีศรีอาชีวะ) - ข้อมูลด้านสุขภาพ - ข้อมูลพฤติกรรม - ข้อเสนอแนะความคิดเห็นในด้านต่างๆของอาจารย์ที่ปรึกษา - ข้อเสนอแนะจากผู้ปกครองซึ่งล้วนแต่เป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างตามรายบุคคล สมดังเจตนารมของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ



ระบบงานสารบรรณ (RSLB2007)ความสามารถของระบบ

• ลดค่าใช้จ่ายจากการเวียนหนังสือด้วยกระดาษแบบดั้งเดิม ได้มีการออกแบบระบบฐานข้อมูล ใช้งานง่ายกว่าระบบการรับส่งด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากระบบอีเมล์จะใช้พื้นที่การเก็บเอกสารมากกว่า และไม่สามารถตรวจสอบสถานะหนังสือได้

• ซึ่งระบบ RSLB2007 สามารถตรวจสอบสถานการณ์แจ้งเวียนหนังสือได้ โดยสามารถตรวจสอบหนังสือว่าส่งถึงผู้ใดบ้าง มีผู้เปิดอ่านหรือยังไม่เปิดอ่านเช่นใด รวมถึงติดตามเวลาในการเปิดอ่านหนังสือเวียน และระบบสามารถรายงานข้อมูลเชิงสถิติด้านสถานะของผู้ใช้งานได้ว่ามีหนังสือที่ส่งถึงกี่ฉบับ เปิดอ่านและไม่เปิดอ่านกี่ฉบับ

• โดยทำการกำหนดคุณสมบัติของหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์เป็น 3 คุณลักษณะ - หนังสือเวียนสำหรับบุคลากรในระบบ- หนังสือกองกลาง ที่บุคลากรในระบบสามารถเปิดได้- หนังสือที่เผยแพร่สู่ภายนอก หรือหนังสือของอาชีวศึกษาจังหวัด

• ผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บหนังสือสำคัญ ไว้ใช้ประโยชน์ในภายหลัง ง่ายต่อการเรียงลำดับตามต้องการของผู้ใช้งาน รวมถึงลดเวลาในการค้นหาหนังสือ



ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพเบตง กล่าว ต้อนรับ










>>>>>และนี่เบื้องหลังความสำเร็จ <<<<<



















ภาพรวมโดย งานวิทยบริการและห้องสมุด วิทยาลัยการอาชีพเบตง )):




2 ความคิดเห็น:

  1. อัพเดท ไวมาก ผ่านแน่นอน

    ตอบลบ
  2. งานวิทยฯ สู้ๆ โครงการที่ส่งจะได้อนุมัต้ มั้ย น๊า 5555

    ตอบลบ

เพลงฮิต


~ ~ w e l c o m e to R's L i f e ~ )) ))